วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

My favorite Cartoon

" Snoopy "








.
ผู้ให้กำเนิดตัวการ์ตูน "Snoopy" คือ
- Charls M. SCHULZ -
.
.
Snoopy เกิดวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1950 ในทวีปอเมริกา
Snoopy เป็นสุนัขพันธุ์เล็กขาสั้น ใช้ในการล่าสัตว์ ชอบสอดรู้สอด
เห็น ชอบเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว Snoopy เก่งศิลปะและ
ดนตรี แต่ไม่ค่อยได้ทำ ส่วนมาก Snoopy จะหมดเวลาไปกับการฝันกลาง
วันบนหลังคาบ้านสีแดงเล็กๆของเขามากกว่า (เก่งแต่เกียจคร้านว่างั้น)
Snoopy เป็นสุนัขพันธุ์บีเกิ้ลที่ไม่เคยแคร์สายตาใคร มันมีความเป็นตัว
ของตัวเองและเชื่อมั่นในตัวเอง คิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง
ทุกอย่าง และความสุขของมันต้องมาอันดับหนึ่งเสมอ ส่วนจะสร้างความ
เดือดร้อนให้ใครหรือไม่นั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง Snoopy มักจะปรากฎตัวบน
หลังคาบ้านเล็กๆของมันเอง ท่าทางของเจ้าสนูปปี้ที่นั่งพิมพ์ดีด หรือครุ่น
คิดเพลงคลาสสิค ภาพเขียนของแวนโก๊ะ และกระทั่งอ่านหนังสือของ
ตอลสตอล หรือ เฮสเส ก่อนอาหารมื้อเที่ยงที่ชาร์ลี บราวน์จะต้องเป็นผู้
นำไปให้มันเสมอ.......
.
.



Charlie Brown เป็นเจ้าของ Snoopy เป็นเด็กที่นิสัยสุภาพ เรียบร้อย
แต่วิตกกังวลหรือคิดเล็กคิดน้อยกับเรื่องเล็กๆน้อยๆที่เป็นเรื่องไร้สาระ แต่
Charlie Brown ก็เป็นที่รักของเพื่อนๆ ชอบกีฬาเบสบอล แต่เล่นไม่เก่ง
.
.
"Woodstock" เป็นนกและตัวเล็กที่สุดใน Snoopy gang ด้วย แต่
กล้าหาญกว่านกตัวเล็กๆตัวอื่นๆ และเป็นนกที่ไม่ค่อยชอบบินเหมือนนกตัว
อื่นๆ มีความจำที่ดี เก่งเลข และชอบเล่นกับ Snoopy มากๆ ถึงแม้ว่าจะ
โดน Snoopy แกล้งบ่อยๆก็ตาม Woodstock ชอบเล่นเบสบอลมาก เอา
เป็นว่าแค่เห็นลูกเบสบอลกลิ้งมาก็จะต้องกระโดดเข้าไปหาทันที
.
.
Gang ของ Snoopy ประกอบไปด้วยผู้คนเหล่านี้ (ตามรูป)
.
.
(เรียงลำดับจากซ้ายไปขวาแถวล่าง) Franklin (แฟรงเคิล) , Lucy (ลูซี่)
Linus (ลินนัส) , Pepermint (แป๊ปเปอรฺมิ้นท์) , Sally (แซลลี่)
(เรียงจากซ้ายไปขวาแถวบน) Woodstock (วูดสต็อค) , Snoopy
 (สนูปปี้) , Charlie Brown (ชาร์ลี บราวน์)
.
Marcie (มาร์ซี่)
.
Schroeder
.
รูปน่ารักๆของ Charlie Brown , Snoopy , Woodstock
.
.
.
.

ประวัติของ snoopy
snoopy เกิด วันที่4 ตุลาคม ค.ศ. 1950
บวกลบ แล้วคงอายุ ราวๆ 58 ปี แล้วละ เป็นคุณตา ได้เลยนะเนี้ย
snoopy เกิดในทวีปอเมริกา
ผู้ที่เขียน snoppy ขึ้นมา คือ Charles Schulz
snoopy เป็นสุนัขพันธุ์เล็กขาสั้น ใช้ในการล่าสัตว์
ชอบสอดรู้สอดเห็น ชอบเอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อม รอบๆ ตัวเค้า
snoopy เก่งศิลปะและดนตรี แต่ไม่ค่อยได้ทำ
ส่วนมาก snoopy จะหมดเวลาไปกับการ ฝันกลางวันบนหลังคาบ้านสีแดง เล็กๆ ของ เค้ามากกว่า
(เก่งแต่ขี้เกียจว่างั้น)
 
 








“Spongebob Squarepants”





ผู้สร้าง : Stephen Hillenburg
สตูดิโอผู้ผลิต : United Plankton Pictures
ประเทศ : สหรัฐอเมริกา
ช่องรายการ : Nickelodeon (เคเบิลทีวี), True Spark (ทรู วิชั่นส์)
เวลาออกอากาศในไทย :
ความยาว : ตอนละ 22 นาที โดยแบ่งเป็นตอนย่อยอีกตอนละ 11 นาที
“Spongebob Squarepants” คือชื่อของฟองน้ำ ซึ่งมีเพื่อนบ้านเป็นปลาหมึก สควิดวอร์ด (Squidward) และเพื่อนสนิทของเจ้าฟองน้ำ เป็นปลาดาว แพ็ททริก (Patrick Star) พวกเขาอาศัยอยู่ในเมืองใต้น้ำแห่ง “Bikini Bottom” ซึ่งเป็นเมืองที่มีลักษณะทางกายภาพเหมือนเมืองทั่วไป มีอาคาร ตึกรามบ้านช่อง มีระบบการคมนาคม มีสนามบิน ฯลฯ จะต่างกันแค่เมืองนี้อยู่ใต้ทะเลเท่านั้นเอง


เจ้าฟองน้ำ บ็อบ มีสัตว์เลี้ยงเป็นของตนเองด้วย เป็นหอยทากน้อย (Gary) ซึ่งเปล่งเสียงร้องคล้ายแมว.. ชีวิตของเขาก็เป็นแบบเรียบง่าย ทำงานเป็นพ่อครัวในภัตตาคารฟาสต์ฟู้ด “Krusty Krab” ร่วมกับปลาหมึกสควิดวอร์ด ที่ทำหน้าที่เป็นพนักงานรับจ่ายเงิน ร้านนี้ผู้เป็นเจ้าของกิจการก็คือ พี่ปูก้ามใหญ่ มิสเตอร์แครบ (Mr. Krabs) ร้านนี้เป็นที่รู้จักกันมาก เสียจนมีร้านคู่แข่ง “Chum Bucket” ที่มี แพลงค์ตอน (Sheldon J. Plankton : “Plankton”) เจ้าของกิจการ จ้องจะขโมยสูตรไปเป็นของตนอยู่ตลอด เนื่องจากร้านของแพลงค์ตอนนี้ไม่เคยมีลูกค้าเลย ทางมิสเตอร์แครบเองก็ใช่ว่าจะพิกเฉยต่อเรื่องนี้ เลยสั่งกับพนักงานของตนทุกคนว่า ให้คอยเก็บรักษาสูตรลับซึ่งถือเป็นสมบัติสำคัญของร้านให้ดี อย่าให้ใครมาขโมยไปได้
แต่ในโลกใต้น้ำนี้ ก็ไม่ได้มีแค่สิ่งมีชีวิตที่เกิดมาเพื่ออาศัยในน้ำเท่านั้น กระรอกสาว แซนดี้ (Sandy Cheeks) คือหนึ่งในนั้น เธออาศัยอยู่ในโดมแก้วใต้น้ำซึ่งเป็นบ้านของเธอ ภูมิลำเนาเดิมของเธอคือที่ Texas ถูกส่งตัวมาที่เมือง Bikini Bottom นี้ โดยคำสั่งของใครคนหนึ่ง (ภายหลังมีการเปิดเผยว่าบอสของเธอเป็นลิงชิมแปนซี ในตอนที่ชื่อ Chimp Ahoy) แซนดี้เป็นหนึ่งในคนที่บ็อบรู้จักด้วย จากการที่บ็อบได้ช่วยชีวิตแซนดี้ให้รอดจากหอยกาบยักษ์จอมตะกละ ทำให้แซนดี้ประทับใจและขอเป็นเพื่อนกับบ็อบในเวลาต่อมา
ชีวิตในแต่ละวัน สปอนจ์บ็อบต้องเผชิญกับหลายๆ อย่างในชีวิตของเขา ซึ่งมีทั้งสุข ทุกข์ เรื่องดีๆ เรื่องเครียดๆ หรือเรื่องไม่เป็นเรื่องต่างๆ เหล่านั้นเป็นสิ่งที่คอยให้ประสบการณ์แก่เขา ให้เขาได้เรียนรู้ และเข้าใจกับคำว่า “ชีวิต” สปอนจ์บ็อบใฝ่ฝันไว้ว่าในอนาคต เขาจะเป็นพ่อครัวมือหนึ่งแห่ง Bikini Bottom ให้ได้




Beauty & The beast





ในวาระเฉลิมฉลองครบรอบปีที่ 10 Beauty and the Beast แอนิเมชั่นคลาสสิคตลอดกาลของ วอลท์ ดิสนีย์พิคเจอร์ส กลับมาเปิดตัวในฉบับพิเศษบนจอยักษ์เป็นครั้งแรกทั่วโลก พร้อมเพิ่มความตื่นตะลึง ด้วยฉากใหม่เอี่ยมความยาว 6 นาทีกับบทเพลง "Human Again" จากปลายปากกาของนักแต่งเจ้าของรางวัลออสการ์อย่าง โฮเวิร์ด แอชแมน และ อลัน เมนเคน ขณะที่ตัวหนังได้รับการนำกลับมาปรับปรุงคุณภาพอีกครั้ง ในระบบดิจิตอลทีละเฟรม เพื่อให้สมกับการฉายในรูปแบบจอยักษ์ โดยศิลปินและช่างเทคนิคระดับแนวหน้าของดิสนีย์ทีมเดิมจาก Beauty and the Beast นำโดย ผู้อำนวยการสร้าง ดอน ฮาห์น กับสองผู้กำกับ เคิร์ค ไวส์ และ แกรี่ ทรูสเดล ได้ทุ่มเทความพยายามอย่างเต็มที่ ในการลบร่องรอยของต้นฉบับ และเพิ่มรายละเอียด ตลอดจนเอฟเฟ็กต์และแอนิเมชั่นใหม่ๆ สำหรับโอกาสนี้ นอกจากนั้น ทีมแอนิเมเตอร์เดิมเกือบทั้งหมด ยังร่วมกันสร้างฉากใหม่ๆ และผู้ให้เสียงพากย์ตัวละครเอกได้แก่ เพจ โอฮาร่า, ร็อบบี้ เบนสัน, แอนเจล่า แลนส์บูรี่, เจอรี่ ออร์บาช, เดวิด อ๊อกเดน สเตียร์ส และ โจ แอนน์ วอร์ลี่ย์ กลับมารับบทบาทเดิมอีกครั้ง เช่นเดียวกับทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการบันทึกเสียงของหนังเรื่องนี้ ซึ่งเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์มาแล้ว ก็กลับมาดูแลการมิกซ์เสียงใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับระบบเสียงของรูปแบบจอยักษ์ รวมทั้งมีการนำฟิล์มใหม่และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น เข้ามาปรับปรุงคุณภาพของหนังฉบับนี้ ให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นด้วย
การสร้างเวอร์ชั่นใหญ่ยักษ์แก่ Beauty and the Beast เป็นภารกิจที่ต้องใช้ทั้งเวลา, กำลังคน และความทุ่มเทจากทีมเทคนิคของดิสนีย์อย่างเหลือคณานับ หนังเรื่องนี้นับเป็นเพียงเรื่องที่ 2 เท่านั้นของดิสนีย์ที่สร้างขึ้นในระบบดิจิตอล โดยใช้ระบบ CAPS (Computer Aided Production System) ของทางสตูดิโอ ซึ่งเคยได้รับรางวัลออสการ์มาแล้ว เข้าช่วยให้ภารกิจนี้เป็นจริงขึ้นมาได้ CAPS เปิดโอกาสให้สามารถนำอาร์ตเวิร์ควาดมือของแอนิเมเตอร์ มาแปลงเป็นดิจิตอลในคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยง วาด และประกอบเข้ากับแบ๊คกราวด์และเอฟเฟ็คต์ต่างๆ ด้วยอิเล็กทรอนิกส์ Beauty and the Beastฉบับเดิมซึ่งเก็บไว้ในเทปดิจิตอล 8 มม. จะถูกถ่ายโอนและบันทึกไว้ใน CD-ROM 9,000 แผ่น ซึ่งสื่อประเภทหลังนี้เอง ที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการสร้างในรูปแบบขนาดใหญ่ 3 เวอร์ชั่น คือ สำหรับจอ IMAX® (15 รูหนามเตยต่อความกว้างของเฟรม), แบบโดมโปรเจ็คชั่น และแบบ 8 รูต่อเฟรม กล้องและเครื่องพิมพ์ฟิล์ม ถูกนำมาใช้ปรับรูปแบบของหนังต้นฉบับ เพื่อใช้สำหรับโรงจอยักษ์ และพิมพ์พรินต์ใหม่ (ในขนาด 8 และ 15 รูหนามเตยต่อเฟรม) ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงที่คมชัดแ ละมีมิติแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ทีมผู้สร้างหนังไม่ได้ใช้วิธีง่ายๆ อย่างการขยายฟิล์ม 35 มม.ที่มีอยู่ขึ้นเป็นฉบับจอใหญ่ แต่เลือกจะสร้างฉบับใหม่ขึ้นเลยจากข้อมูลดิจิตอลเดิม ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ได้ภาพกระจ่างชัดมาก โดยในขั้นตอนของการเปลี่ยนรูปแบบทีละเฟรมนี้ ทีมงานต้องกำจัดร่องรอยสกปรกและความบกพร่องต่างๆ ในต้นฉบับ รวมทั้งแก้ไขภาพที่ไม่น่าดูหรือไม่เหมาะสม สำหรับการฉายจากความสูงเท่าอาคาร 7 ชั้นออก เนื่องจากจอยักษ์โดยทั่วไปจะใหญ่กว่าจอ 35 มม.ปกติ 8-10 เท่า






เมื่อคราวออกฉายครั้งแรกในปี 1991 นั้น Beauty and the Beast ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่บนบ๊อกซ์ออฟฟิศ (โดยเป็นแอนิเมชั่นเรื่องแรกที่สามารถทำรายได้เกิน 100 ล้านดอลล่าร์ ได้จากการฉายครั้งแรกเพียงครั้งเดียว) ทั้งยังกลายเป็นหนังเรื่องโปรดของผู้ชมทั่วโลก และนับเป็นก้าวสำคัญยิ่งสำหรับวงการศิลปะแอนิเมชั่นด้วย หนังเรื่องนี้เป็นแอนิเมชั่นเรื่องแรก และเรื่องเดียวนับถึงปัจจุบัน ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และสามารถคว้ารางวัลลูกโลกทองคำ ในสาขาภาพยนตร์ตลก/เพลงยอดเยี่ยมมาได้ นอกจากนั้น ยังได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ปี 1992 ถึง 6 สาขา โดยทำสำเร็จในสาขาเพลงยอดเยี่ยม ("Beauty and the Beast") กับดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (ประพันธ์โดย อลัน เมนเคน) และได้รับการยกย่องจากวงการดนตรี ด้วยการชนะรางวัลแกรมมี่ถึง 2 รางวัล
Beauty and the Beast ฉบับออกฉายครั้งแรก ได้รับเสียงชื่นชมจากนักวิจารณ์มากมาย และยังมีบทบาทสำคัญ ในการปลุกกระแสความสนใจต่อหนังเพลงอีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้น หนังยังช่วยฟื้นฟูวงการละครเพลงบรอดเวย์ และได้รับการนำไปสร้างเป็นละครเพลงในปี 1994 โดยเวอร์ชั่นที่ อลัน เมนเคน แต่งเพลงใหม่ (ร่วมกับ ทิม ไรซ์ ผู้แต่งเนื้อร้อง) นี้ เปิดแสดงในบรอดเวย์มาแล้วกว่า 3,000 รอบ และยังคงแสดงอยู่จนถึงปัจจุบัน นับเป็นผลงานที่มีอายุการแสดงยาวนานที่สุด เป็นอันดับ 10 ในประวัติศาสตร์ของบรอดเวย์ ทั้งยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโทนี่ถึง 9 สาขา (และชนะในสาขาเครื่องแต่งกาย) ขณะที่เวอร์ชั่นเดินสายก็ได้กระจายตัวออกเปิดแสดงทั่วอเมริกา รวมถึงประเทศอื่นๆ อย่างอังกฤษ, เยอรมัน, สเปน และญี่ปุ่น
ที่เหนืออื่นใด ความสำเร็จของ Beauty and the Beast ส่งผลให้แผนกแอนิเมชั่นขนาดยาวของดิสนีย์เติบโตขึ้นมาก และช่วยเสริมพลังแก่การฟื้นคืน ที่เริ่มขึ้นมาแล้วตั้งแต่ 2 ปีก่อนหน้านั้นกับ The Little Mermaid (ซึ่งมีเพลงที่แต่งโดยแอชแมนกับเมนเคนเช่นกัน) หนังแอนิเมชั่นเริ่มได้รับความสนใจ ในฐานะกระบวนการสร้างภาพยนตร์ที่จริงจัง โดยเฉพาะในด้านศิลปะ โดยดิสนีย์เดินตามความสำเร็จนี้ ด้วยผลงานแอนิเมชั่นเพลงอย่าง Aladdin, The Lion King, Pocahontas, The Hunchback of Notre Dame, Hercules, Mulan และ Tarzan






เรื่องราวของ Beauty and the Beast เป็นหนึ่งในการผจญภัยสุดโรแมนติคที่โด่งดังที่สุด และยืนยงที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา กับยังเป็นวัตถุดิบชั้นดี แก่ผลงานแอนิเมชั่นขนาดยาวลำดับที่ 30 ของ วอลท์ ดิสนีย์ อีกด้วย เทพนิยายคลาสสิคว่าด้วยสาวน้อยแสนสวย ผู้เผชิญหน้ากับอสูรเปี่ยมเสน่ห์เรื่องนี้ครองใจทั้งนักเล่าเรื่อง คนทำหนังและผู้ชมอย่างเหนียวแน่น จินตนาการและฝีมือด้านศิลปะของทีมสร้างสรรค์แห่งดิสนีย์, ดนตรีประกอบน่าประทับใจจากสองนักแต่งเพลงเจ้าของรางวัลออสการ์ และการทุ่มเทของทีมนักพากย์ ส่งผลให้แฟนตาซีปรัมปราเรื่องนี้ ก้าวสู่มิติใหม่อันน่าตื่นเต้น ซึ่งจะกลายเป็นจริงขึ้นมาได้ ก็ด้วยความมหัศจรรย์ของศิลปะแอนิเมชั่นเท่านั้น
เรื่องราวใน Beauty and the Beast เกิดขึ้น ณ หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในฝรั่งเศส ช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ว่าด้วยการผจญภัยเร้าใจของ เบลล์ หญิงสาวงดงามชาญฉลาด ผู้เลือกการอ่านหนังสือเป็นหนทางหนีจากวิถีชีวิตอันแสนธรรมดาสามัญของตน และจากชายรูปงามแต่ป่าเถื่อนนาม แกสต็อง ที่เพียรตื๊อเธอไม่เลิกรา วันหนึ่งพ่อผู้เป็นนักประดิษฐ์ของเธอ พลัดหลงเข้าไปในปราสาทของอสูรและถูกจับขังไว้ เบลล์จึงเดินทางไปช่วยพ่อ โดยสัญญาแลกเปลี่ยนให้ตัวเธอถูกคุมขังแทน ในไม่ช้า ด้วยความช่วยเหลือของเหล่าเครื่องใช้ต้องมนตร์ในปราสาทอย่าง กาน้ำชา, เชิงเทียน, นาฬิกาเหนือเตาผิง และเพื่อนๆ ก็ทำให้เบลล์เริ่มค้นพบหัวใจและวิญญาณของเจ้าชายมนุษย์ ที่ซ่อนอยู่ภายใต้รูปโฉมของอสูร โดยในช่วงเวลาเดียวกัน แกสต็องผู้โกรธเกรี้ยวที่ถูกปฏิเสธและถูกครอบงำด้วยความริษยา ก็เปิดเผยหัวใจดำมืดไม่ผิดจากอสูรของตนออกมา ด้วยการนำทีมชาวบ้านออกเดินทางไปยังปราสาท ซึ่งนำไปสู่การเผชิญหน้าครั้งสำคัญที่สุด
เรื่องราวของ Beauty and the Beast นั้น เป็นเรื่องเล่าเก่าแก่ที่มีการเปลี่ยนรูปลักษณ์ไปหลากหลาย บนแก่นหลักซึ่งมีมาตั้งแต่ครั้งตำนานปรัมปราของกรีก ย้อนกลับไปในปี 1550 จีโอวาน สตราปาราโลนักเขียนชาวอิตาเลียน เป็นผู้เขียนเรื่องนี้ขึ้นดังที่รู้จักกันทั่วไป และเรื่องดังกล่าวก็ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 18 จากหนังสือของ มาดาม เลอ ปรินซ์ เดอ โบมองต์ กับ มาดาม กาบรีแอลล์ ดี วีลเนิฟ สองนักเขียนชาวฝรั่งเศส จนกระทั่งปี 1946 ฌ็อง ค็อคโต ผู้กำกับชื่อดังของฝรั่งเศส ก็นำเรื่องนี้มาเสกสรรค์เป็นภาพยนตร์ (เรื่อง La Belle et la Bete) ตามด้วยฉบับทำออกฉายทางโทรทัศน์ในปี 1987 ซึ่งตีความใหม่ โดยเปลี่ยนฉากหลังเป็นนิวยอร์คยุคร่วมสมัย
Beauty and the Beast เป็นเทพนิยายคลาสสิคเรื่องที่ 5 เท่านั้น ที่ดิสนีย์เลือกนำมาดัดแปลงเป็นหนัง โดยขนบนี้เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในปี 1937 กับ Snow White and the Seven Dwarfs ซึ่งสร้างจากนิทานดังของพี่น้องกริมม์ ต่อมาในทศวรรษ 1950 วอลท์ ดิสนีย์ กับทีมแอนิเมเตอร์ก็ประสบความสำเร็จอีกครั้ง กับการดัดแปลงนิทานคลาสสิค 2 เรื่องของนักเขียนฝรั่งเศสนาม ชาร์ลส์ แปร์โรลต์ คือCinderella (1950) กับ Sleeping Beauty (1959) และอีกหนึ่งเทพนิยายดังของ ฮานส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน ก็กลายมาเป็นวัตถุดิบของ The Little Mermaid ฉบับดิสนีย์ซึ่งออกฉายในปี 1989 





การดัดแปลง Beauty and the Beast ให้เป็นหนังแอนิเมชั่นนั้น เป็นภารกิจท้าทายที่ใช้เวลากว่า 3½ ปี และต้องใช้แอนิเมเตอร์, ศิลปินและช่างเทคนิคถึงเกือบ 600 คน โดยยังไม่นับภาพดรออิ้งอีกกว่าหนึ่งล้าน และแผ่นเซลที่ใช้ในการวาดถึง 226,000 แผ่น ผู้นำทีมครั้งนั้นคือ ดอน ฮาห์น มือเก๋าที่ร่วมงานกับดิสนีย์มานานถึง 25 ปี และสองผู้กำกับรุ่นหนุ่มแต่มากความสามารถอย่าง แกรี่ ทรูส เดล กับเคิร์ค ไวส์ ซึ่งมากำกับหนังเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก โดยทั้งสามกลับมาร่วมทีมกันอีกครั้งใน The Hunchback of Notre Dame (1996) และ Atlantis: The Lost Empire (2001) นอกจากนั้นยังมีแอนิเมเตอร์อีก 10 คน ที่ได้รับมอบหมายให้มาดูแลเฉพาะในส่วนตัวละคร และสร้างชีวิตให้กับมัน โดยได้รับความช่วยเหลือ จากกลุ่มแคแร็คเตอร์แอนิเมเตอร์ และทีมเกลาภาพร่าง (clean-up artists) โดยมีแอนิเมเตอร์ประจำดิสนีย์-เอ็มจีเอ็มสตูดิโอส์ในเลคบัวนาวิสต้า ให้ความช่วยเหลือผ่านดาวเทียมอีกแรงหนึ่ง
ลินดา วูลเวอร์ตัน นำธีมอมตะและองค์ประกอบพื้นฐานทั้งหลายของเทพนิยาย มาใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการเขียนบทที่แปลกใหม่ทันสมัย ซึ่งกลายมาเป็นต้นแบบ ทั้งด้านโครงสร้างและอารมณ์ให้แก่การพัฒนาด้านภาพ และการทำสตอรี่บอร์ด ขณะที่ โฮเวิร์ด แอชแมน ผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร และนักแต่งคำร้องให้กับเพลงในหนัง ก็เข้ามามีส่วนช่วยในขั้นตอนพัฒนา และวางโครงสร้างของเรื่องตั้งแต่แรกด้วย เช่นเดียวกับ โรเจอร์ แอลเลอร์ส ซึ่งรับหน้าที่ดูแลด้านเรื่องราว และ ไบรอัน แม็คเอนที กับ เอ๊ด เกิร์ตเนอร์ รับผิดชอบด้านกำกับศิลป์และการวางเลย์เอาต์ (ตามลำดับ) ลิซ่า คีน ดูแลทีมศิลปิน 14 ชีวิตที่ร่วมกันเขียนแบ๊คกราวด์ 1,300 ชิ้น ซาร่าห์ แม็คอาร์เธอร์ รับหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการสร้าง และ จอห์น คาร์โนแคน (The Little Mermaid) ดูแลด้านการลำดับภาพ
หน้าที่ในการดูแลงานสร้างฉากเพลงใหม่ "Human Again" ให้กับหนังฉบับฉายจอยักษ์เป็นของ เอ๊ด เกิร์ตเนอร์ ผู้กำกับศิลป์ และ เดฟ บอสเสิร์ต ผู้ประสานงานฝ่ายศิลป์ ขณะที่ทีมผู้ควบคุมงานศิลป์ในส่วนดังกล่าวคือ จอห์น แซนฟอร์ด (ด้านเรื่องราว), มิตเชลล์ เบอร์นอล (เลย์เอาต์), อเล็กซ์ โทพีต (Clean-up), ดีน กอร์ดอน (แบ๊คกราวด์) และ สตีฟ มัวร์ (เทคนิคพิเศษ) มาร์แชลล์ ทูมี่ย์ ควบคุมด้านเลย์เอาต์สำหรับฉบับจอใหญ่, ลิซ่า คีน ดูแลด้านแบ๊คกราวด์ และ ทอม เบคเกอร์ ด้านวางฉาก โดยมี เอลเลน เคเนเชีย เป็นผู้ลำดับภาพของฉบับพิเศษนี้
สำหรับฉากเพลงที่เพิ่มเข้ามาคือ "Human Again" นี้ จะเป็นการสร้างใหม่ทั้งหมด โดยในเพลงนี้ ข้าวของเครื่องใช้จะช่วยกันทำความสะอาดปราสาท เพื่อเตรียมรับบรรยากาศโรแมนติคที่พวกเขาวาดหวังว่าจะเกิดขึ้น และหลังจากปัดกวาดเช็ดถูแล้ว ปราสาทก็จะเอี่ยมอ่องไร้ร่องรอยใดๆ
บทเพลงโดดเด่นรวม 7 เพลงที่ถักทอเข้าในหนังเป็นผลงานของทีมเจ้าของออสการ์ โฮเวิร์ด แอชแมน และ อลัน เมนเคน ซึ่งเคยฝากฝีมือไว้ใน แอนิเมชั่นทำรายได้ถล่มทลายของดิสนีย์ประจำปี 1989 เรื่อง The Little Mermaid กับแอนิเมชั่นตลกยอดฮิตปี 1992 เรื่อง Aladdin มาแล้ว และในครั้งนี้ เนื้อเพลงลุ่มลึกของแอชแมน ถูกหลอมรวมเข้ากับเมโลดี้สุดประทับใจของเมนเคน จนกลายเป็นบทเพลงที่ไม่เพียงสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินเท่านั้น แต่ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งของหนัง ที่ช่วยสร้างความคืบหน้าให้แก่เรื่องราว และพัฒนาการของตัวละครด้วย โดยเจ้าของ 8 รางวัลออสการ์อย่างเมนเคนยัง กลับมาดูแลดนตรีประกอบให้แก่ผลงานล่าสุดฉบับจอใหญ่ครั้งนี้ ขณะที่แม้การจากไปก่อนเวลาอันควรของ โฮเวิร์ด แอชแมน ในเดือนมีนาคม 1991 (หรือเพียง 8 เดือนก่อนBeauty and the Beast ออกฉาย) นับเป็นความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของยุคสมัย แต่อัจฉริยภาพของเขา ก็ยังคงโลดแล่นอยู่ทั้งในหนังของดิสนีย์ และบนละครเวทีหลายต่อหลายเรื่อง




การสร้างชีวิตให้แก่ตัวละครด้วยเสียงพากย์ ทั้งในบทพูดและบทเพลง เป็นหน้าที่ของกลุ่มนักแสดงมากพรสวรรค์ โดย เพจ โอฮาร่า นักร้องและนักแสดงละครเวที เป็นผู้ได้รับเลือกให้มารับบท เบลล์ ท่ามกลางคู่แข่งมีฝีมือจากบรอดเวย์อีกนับร้อย ความสามารถในฐานะนักแสดงของเธอ และทักษะอันยอดเยี่ยมด้านการร้องเพลง ทำให้เธอเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด สำหรับบทนางเอกผู้รักอิสระ รักการผจญภัยและมีหัวใจโรแมนติค เช่นเดียวกับ ร็อบบี้ เบนสัน ซึ่งใช้ความสามารถด้านการแสดงหลากหลาย มาคว้าบทอสูรไปได้สำเร็จ เขาสามารถสร้างทั้งอารมณ์ขัน และความเป็นมนุษย์ให้แก่ตัวละครรูปโฉมน่าสะพรึงกลัวตัวนี้ ผู้จำต้องเรียนรู้การมอบความรัก และได้รับความรักตอบแทน เพื่อจะเอาชนะคำสาปให้ได้
ริชาร์ด ไวท์ นักแสดงละครเวที เป็นเจ้าของเสียงห้าวหาญของ แกสต็อง ตัวละครรูปงามแต่ยะโสจนน่าขบขัน ผู้มุ่งหวังจะได้แต่งงานกับเบลล์ ครั้นอะไรๆ ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เขาก็เปิดเผยหัวใจดำมืดราวอสูร ที่ซ่อนอยู่ใต้รูปลักษณ์หล่อเหลาของตนให้เห็น ขณะที่ เลอฟู คู่ซี้สุดซื่อสัตย์ผู้อยู่เคียงข้างแกสต็อง ทั้งในยามดีและยามร้ายนั้น กลับกลายมีชีวิตขึ้นมาได้อย่างหรรษา ด้วยเสียงพากย์ของนักแสดง เจสซี่ คอร์ติ ส่วน เร็กซ์ เอฟเวอร์ฮาร์ต นักแสดงละครเวทีฝีมือดีผู้ล่วงลับไปแล้ว มาให้เสียง มอริซ พ่อนักประดิษฐ์ของเบลล์ ซึ่งให้กำเนิดสิ่งประดิษฐ์ล้ำยุคเสมอ
ในส่วนของเสียงพากย์คนรับใช้ผู้น่ารักทั้งหลายในปราสาท ที่ต้องเปลี่ยนร่างพร้อมๆ กับที่เจ้าชายถูกสาปให้กลายเป็นอสูรนั้น ล้วนเป็นของนักแสดงชั้นนำทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น แอนเจล่า แลนส์บูรี่ นักแสดงหนังและดาราโทรทัศน์มือดีเจ้าของ 4 รางวัลโทนี่ มาให้เสียงกาน้ำชาจอมทะเล้นชื่อ มิสซิสพ็อตต์ส ผู้ชอบพร่ำให้คำแนะนำแก่ ชิป ลูกชายของเธอ (ให้เสียงโดย แบร๊ดลี่ย์ เพียร์ซ) กับเบลล์, เจอร์รี่ ออร์บาช นักแสดงมือเก๋าจากทั้งแวดวงละครเวที, หนังและโทรทัศน์ โดดเด่นมากจากการให้เสียงเชิงเทียนเลือดร้อนชื่อ ลูมีแอร์ อดีตหัวหน้าคนรับใช้ผู้ใช้เสน่ห์ และบุคลิกส่วนตัวแปรเปลี่ยนอาหารมื้อธรรมดาๆ ให้กลายเป็นวาระพิเศษได้เสมอ, เดวิด อ๊อกเดน สเตียร์ส เยี่ยมยอดกับการให้เสียง ค็อกส์เวิร์ธ นาฬิกาเหนือเตา ผู้พยายามอย่างยิ่งในการรักษาความเที่ยงตรงของตัวเอง และนักแสดงตลกหญิง โจ แอนน์ วอร์ลี่ย์ มาให้เสียงตู้เสื้อผ้าประหลาดในปราสาทแห่งนี้




" Little Mermaid "







The Little Mermaid ผลงานการ์ตูนลำดับที่28ของดีสนีย์เรื่องนี้ มีการเปิดตัวฉายครั้งแรกในปี1989 และสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้แก่ดีสนีย์ให้กลับขึ้นมามีความโดดเด่นอีกครั้ง ด้วยการรางวัลออสการ์มาถึง สองตัวด้วยกัน และไม่ใช่แก่ดีสนีย์เท่านั้น The Little Mermaidยังเป็นการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ของ วงการการ์ตูน โดยเป็นการร่วมมือกันของฝ่ายสร้างหนังจากดีสนีย์และทีมงานทำเพลงประกอบที่ได้รับ การยอมรับอย่างอลัน เมนเกนและโฮเวิร์ด แอชแมน ทำให้งานที่ออกมามีความสมดุล กลายเป็นรูปแบบใหม่ ของหนังเพลง ที่ยังคงมีความสร้างสรรค์ ตื่นเต้น และทำให้คนดูได้ร้องเพลงกันอีกครั้ง นอกจากนี้การ ที่เหตุการณ์ในหนังสองในสามของเรื่องเกิดขึ้นใต้ทะเล เทคนิคการวาดภาพในเรื่องนี้จึงถูกคิดค้นขึ้นมา เพื่อปรับแต่งภาพใหม่ให้ต่างจากเทคนิคเดิมที่สร้างจากสภาพเหนือพื้นดิน มีการเพิ่มเอฟเฟ็กต์ แสง ภาพให้ ดูเหมือนชีวิตภายใต้ท้องทะเลอีกด้วย


The Little Mermaidเป็นภาพยนตร์การ์ตูนที่ดัดแปลงบทมาจากเรื่องคลาสสิคของ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน และยังนับเป็นการ์ตูนเรื่องแรกของดีสนีย์ที่มีการดัดแปลงบทมาจากเรื่องราวของเทพนิยาย นับจากครั้งสุดท้าย ที่นำเอาSleeping Beautyมาสร้างเมื่อ30ปีก่อน โดยเป็นเรื่องเกี่ยวกับเงือกน้อย"เอริล"ที่ฝันอยากจะก้าวขึ้นมาเป็น ส่วนหนึ่งของสังคมบนโลกมนุษย์ โดยหวังว่าจะได้เป็นมนุษย์และพบกับเจ้าชายในฝันของเธอ เอริลจึงยอมเสี่ยงต่อรอง กับ เออร์ซูล่า แม่มดทะเลตัวร้ายแลกเสียงที่ไพเราะกับการมีขาเหมือนมนุษย์ แม้ว่าในนิยายของฮันส์จะมีตอนจบที่น่า เศร้า แต่ทางดีสนีย์รู้ดีว่าทุกคนต้องการตอนจบที่มีความสุข จึงพยายามที่จะหาทางทำออกมาให้แตกต่างไปจากต้นฉบับ แต่ก็ยังคงยึดมั่นต่อธีมเดิมของเรื่องเอาไว้ด้วย ตอนจบของThe Little Mermaidฉบับดีสนีย์จึงเก็บความรู้สึก หวานอมขมกลืนแบบเรื่องราวต้นฉบับเอาไว้ แต่ก็ทำให้มันดูสดใสขึ้นกว่าเดิม แต่ผู้ชมต่างก็ชื่นชอบและประทับใจ และยก ย่องให้The Little Mermaidเป็นการ์ตูนที่สร้างความสนุกสนานได้มากที่สุดเรื่องหนึ่งของดีสนีย์
หลังจากนั้นในปี1998 The Little Mermaidก็ได้ถูกนำกลับมาฉายใหม่อีกครั้งในรอบ8ปีนับจากที่มีการฉายครั้งแรก The Little Mermaidก็ยังคงเป็นเรื่องราวที่มีเสน่ห์และยังคงเป็นเรื่องที่น่าประทับใจเช่นเคย โดยมีการปรับปรุงสีสันและ เสียงให้ดีกว่าเวอร์ชันของเก่า และแม้ว่าจะเป็นการนำกลับมารีเมคใหม่อีกครั้ง แต่ผู้ชมก็ยังคงให้ความสนใจ และยังตื่นเต้น ไปกับหนังยอดเยี่ยมเรื่องนี้ในลักษณะที่เต็มรูปแบบในโรงหนังกันอีกครั้ง


"snow white"


         
       
สโนว์ไวต์ (เยอรมันSchneewittchen; SchneeweißchenอังกฤษSnow White) เป็นชื่อของเทพนิยายอันโด่งดังในยุโรป และเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก รวมไปถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน เทพนิยายเรื่องนี้ตั้งชื่อขึ้นตามตัวเอกของเรื่อง โดยดังเดิมเป็นนิทานพื้นบ้านของยุโรป ได้รับการเล่าขานกันมาต่าง ๆ กัน แต่เทพนิยายเรื่องสโนว์ไวต์ที่เรารู้จักกันดีที่สุด มาจากบทประพันธ์ในภาษาเยอรมันของ พี่น้องตระกูลกริมม์ โดยพี่น้องตระกูลกริมม์ได้เพิ่มตัวละครส่วนประกอบที่ทำให้เรื่องราวน่าสนใจยิ่งขึ้น อาทิ กระจกวิเศษและ คนแคระทั้งเจ็ด เป็นต้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2480 ทางดิสนีย์ได้ดัดแปลงเทพนิยายเรื่องนี้ในรูปแบบภาพยนตร์การ์ตูน โดยใช้ชื่อว่า สโนว์ไวต์กับคนแคระทั้งเจ็ด เหตุที่ทางดิสนีย์เลือกใช้ชื่อนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับเทพนิยายของพี่น้องตระกูลกริมม์ เรื่องสโนว์ไวต์กับดอกกุหลาบแดง โดยในการเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง สโนว์ไวต์กับคนแคระทั้งเจ็ด เป็นครั้งแรกที่มีการตั้งชื่อให้แก่คนแคระทั้งเจ็ด



เทพนิยายเรื่องสโนว์ไวต์ในภาษาอื่น ๆ มีบทบาทที่แตกต่างกัน เช่น ในบางชาติได้แต่งบทให้คนแคระทั้งเจ็ดเป็นโจร หรือให้ราชินีพูดคุยกับดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์ แทนกระจกวิเศษ เป็นต้น ในบทประพันธ์ฉบับอัลบาเนีย รวบรวมโดย Johann George von Hahn และตีพิมพ์เป็นภาษากรีก และภาษาอัลบาเนีย เมื่อปี ค.ศ. 1864 สโนว์ไวต์อาศัยอยู่กับมังกร 40 ตัว และสโนว์ไวต์หลับไปเพราะใส่แหวนที่ต้องมนต์สะกด ด้วยเหตุนี้ เรื่องสโนว์ไวต์จึงถูกจัดรวมอยู่ในกลุ่มเทพนิยายรหัส 709 ซึ่งเป็นเทพนิยายที่ตัวเอกของเรื่องหลับไปเพราะสวมแหวนทั้งสิ้น ส่วนต้นแบบของเรื่องสโนว์ไวต์ที่แท้จริงนั้นยังไม่สามารถหาของสรุปได้ แต่คาดว่าน่าจะเป็นเทพนิยายที่ถูกแต่งขึ้นในช่วงยุคกลาง (ราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 - 14)


 สโนว์ไวท์
 
 
           กาลครั้งหนึ่งในดินแดนสุดมหัศจรรย์ ยังมีองค์หญิงน้อยแสนงามผู้มีผมดำดุจไม้มะเกลือ ริมฝีปากแดงดั่งกุหลาบและมีผิวขาวผ่องดังหิมะ เธอคือสโนไวท์ ผู้ที่รู้จักเธอล้วนรักเธอเว้นแต่ราชินีแม่เลี้ยงใจร้ายผู้ริษยาใน
ความงามของเธอสโนไวอาศัยอยู่ในดินแดนมหัศจรรย์ที่มีน้ำตกเจ็ดชั้นและภูเขาอัญมณีเจ็ดลูกที่ภายในมีอัญมณีเลอค่ามากมาย ภูเขาที่อยู่ห่างไกลที่สุดเป็นที่ตั้งของปราสาทที่สโนไวท์เติบโตมาภายใต้อำนาจของราชินีถึงแม่ว่าความ
 
       ปรารถนาที่จะมีรักแสนหวานของเธอจะดูเป็นไปไม่ได้แต่ความรักก็สามารถหาทางของมันได้เสมอแม้ว่าเสื้อผ้าที่ขาดรุ่งริ่งก็ยังไม่สามารถห้ามให้เจ้าชายหลงรักสโนไวท์ได้ราชินีเกรงว่าสักวันสโนไวท์จะเติบโตและงดงามกว่าพระนาง ด้วยเหตุนี้พระนางจึงใช้ให้สโนไวท์ทำงานหนักดั่งทาส และเมื่อกระจกวิเศษเผยแก่ราชินีว่าสโนไวท์งดงามกว่าพระนาง ชีวิตของสโนไวท์ก็ตกอยู่ในอันตราย จนกระทั่งเธอได้พบเพื่อนตัวเล็กๆทั้งเจ็ดคนที่ช่วยเหลือเธอไว้
สโนไวท์วิ่งหนีใปในป่ามืด ดูเหมือนว่าต้นไม้เกิดมีชีวิตและพยายามจะฉุดรั้งสโนไวท์เอาไว้ เธอเหนื่อยล่าและหวาดกลัวจนกระทั่งหมดแรงและล้มลงกลางป่า แล้วสิ่งที่ทำให้เธอมีชีวิตชีวาอีกครั้งก็คือเสียงเพลงและรอยยิ้ม
         ระหว่างที่สโนไวท์กำลังทำกูซเบอร์รี่พายของโปรดของเหล่าคนแคระ แม่ค้าเร่ก็เข้ามาคะยั้นคะยอเธอให้ทำแอปเปิ้ลพายด้วยลูกแอปเปิ้ลสีแดงสดในมือนาง และเมื่อสโนไวท์อธิษฐานต่อแอปเปิ้ลเธอกัดมันและสลบลงไปนอนกองกับพื้นทันที! สโนไวท์ลืมตาตื่นขึ้นพร้อมกับเห็นเจ้าชายรูปงามและเหล่าคนแคระรายล้อม เจ้าชายพาเธอขี่ม้าไปที่ปราสาทของเขาและทั้งคู่ก็อย่ด้วยกันอย่างมีความสุขตลอดกาล